เมนู

ตอบว่า ภิกษุเข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย
ครั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว เข้าทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขาร-
ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนี้ชื่อว่าเจริญปฐมวิปัสสนาให้เป็นคู่ติดกันไป.
บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ ความว่า อันอุทธัจจะได้แก่วิปัสสนูปกิเลส 10
ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนาจับแล้ว คือ จับดีแล้ว . ด้วยบทว่า โหติ โส
อาวุโส สมโย
นี้ท่านกล่าวถึงกาลที่ได้สัปปายะ 7. บทว่า ยนฺตํ จิตฺตํ
ได้แก่ จิตที่ก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาในสมัยใดเป็นไปแล้ว. บทว่า อชฺฌตฺตํ-
เยว สนฺติฏฐติ
ความว่า จิตก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาแล้วหยุดอยู่ในอารมณ์
อันได้แก่ อารมณ์ภายในนั้นนั่นเอง. บทว่า สนฺนิสีทติ ได้แก่ นิ่งโดยชอบ
ด้วยอำนาจของอารมณ์. บทว่า เอโกทิ โหติ ได้แก่ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
บทว่า สมาธิยติ ได้แก่จิตตั้งไว้โดยชอบ คือตั้งไว้ดีแล้ว. คำที่เหลือในสูตรนี้
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถายุคนัทธสูตรที่ 10
จบปฏิปทาวรรควรรณนาที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สังขิตตสูตร 2. วิตถารสูตร 3. อสุภสูตร 4. ปฐมขมสูตร
5. ทุติยขมสูตร 6. อุภยสูตร 7. โมคคัลลานสูตร 8. สารีปุตตสูตร
9. สสังขารสูตร 10. ยุคนัทธสูตร และอรรถกถา.